Browse By

ตำรวจพลร่มกับการต่อต้านคอมมิวนิสต์

หลังจาก จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติยึดอำนาจเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 แล้วนั้น สถานภาพของตำรวจพลร่มทำท่าจะแย่ลง เพราะผู้บังคับบัญชาของแต่ละฝ่ายที่ทำการปฏิวัตินั้นต่างก็เป็นนักการเมือง และเป็นเรื่องธรรมดาของฝ่ายที่แพ้จะต้องถูกริดรอนอำนาจหรือถูกทำลายไปในที่สุด ซึ่งตำรวจในสมัยที่ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ภายใต้การช่วยเหลือของรัฐบาลอเมริกันในรูปแบบของบริษัทซีซับพลาย

(จากซ้าย) จอมพล ป. พิบูลสงคราม, จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์, พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์, จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี

มีกองกำลังที่เข้มแข็งมาก จนเป็นที่วิจารณ์ของคนทั่วไปว่า ได้กลายเป็นกองทัพที่ 4 ของเมืองไทย โดยเฉพาะตำรวจพลร่มซึ่งเป็นหน่วยกำลังที่มีขีดความสามารถในการรบ และขีดความสามารถพิเศษในการสนับสนุนทางอากาศ จึงเป็นที่ไม่ไว้วางใจต่อนักการเมือง ถึงอย่างไรก็ตาม ตำรวจพลร่มก็ได้รอดพ้นจากผลกระทบต่างๆมาได้ ก็เนื่องจากการมีผลของการปฏิบัติงานที่เกิดผลดีต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก

ต่อมาสถานการณ์ที่เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2503 ร้อยเอกกองแลฯ ทำการปฏิวัติยึดอำนาจรัฐบาล พร้อมประกาศนโยบายเป็นกลางเพื่อที่จะนำประเทศไปทางฝ่ายคอมมิวนิสต์ ทางเจ้าสุวรรณภูมา นายกรัฐมนตรี, นายพลภูมี หน่อสวรรค์ รองนายกฯ และรัฐมนตรีกลาโหม ได้รวบรวมกำลังเพื่อต่อต้าน

พร้อมกับร้องขอความช่วยเหลือจาก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นญาติห่างๆทางนครพนมของนายพล ภูมี สถานการณ์ดังกล่าวที่เป็นอยู่ทำให้สหรัฐและประเทศไทย ซึ่งมีนโยบายต่อสู้คอมมิวนิสต์วิตกกังวลเป็นอย่างมาก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เห็นความจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ เพื่อป้องกันมิให้คอมมิวนิสต์เข้าแทรกแซงอันจะเป็นผลเสียต่อความมั่นคงของไทย …เหตุนี้เป็นที่มาของโครงการต่อสู้คอมมิวนิสต์ในลาว

รูปปั้นนูนต่ำชีวประวัติของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แสดงภาพเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. 2500

Cr. พันตำรวจเอก ไวทยวัฒน์ บุญชูวิทย์

COMMENT